วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Verbs







คำกริยาเป็นการบอกอาการ หรือการกระทำ  ( action ) หรือความมีอยู่  เป็นอยู่  ( being ) หรือ สภาวะความเป็นอยู่ ( state of being )
การกระทำ
ความมีอยู่ ,เป็นอยู่
สภาวะความเป็นอยู่
He eatsHe is a boy.He seemed tired.
He went homeShe has a beautiful house.This cake tastes good.

การจำแนกชนิดของคำกริยา  มีการแบ่งไว้หลายวิธีสุดแต่จะคำนึงอะไรเป็นหลัก เช่น
1. แบ่งตามหน้าที่โดยยึดเป็นกรรม  ( Object ) เป็นเกณฑ์มี 2 ชนิด
  • Transitive Verbs  ( สกรรมกริยา )  คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ  เช่น
    He bought a book. ( a book เป็นกรรม )
  • Intransitive Verbs ( อกรรมกริยา ) คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรม    เช่น  
    He arrived late.
2. แบ่งตามหน้าที่ เป็นคำกริยาหลัก (Main Verbs) และคำกริยาช่วย ( Auxiliary Verbs )
  • Main Verbs  ( คำกริยาหลัก) เป็นคำกริยาที่ทำหน้าที่ได้อย่างอิสระในประโยค  เช่น
    He went to Australia last year.
  • Auxiliary Verbs ( คำกริยาช่วย ) ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาหลัก  เช่น
    He has gone to Australia.
3. แบ่งตามหน้าที่เป็นคำกริยาแท้ ( Finite Verbs) และกริยาไม่แท้ ( Non-finite Verbs)
  • Finite Verbs  ( คำกริยาแท้ ) ทำหน้าที่แสดงกริยาอาการที่แท้จริงของประธานในประโยคมีการเปลี่ยนรูปไปตามSubject , Tense, Voice และ Mood เช่น 
Subject
go to school every day He goes to school every day They go to school every day
Tense 
He goes to school every day He went to school  yesterday He's going to school tomorrow
Voice
Someone killed the snake. ( Active ) The snake was killed . ( Passive )
Mood
I recommend that he see a doctor.
    (ไม่ใช่่he sees ) If I were you ,I would not do it.
    ( ไม่ใช่ I was )
  • Non-finite Verbs  ( คำกริยาไม่แท้ )หรือ Verbal  เป็นคำที่มีรูปจากคำกริยาแต่ไม่ได้ทำหน้าที่คำกริยาแท้ มี 3  รูปคือ
a. Infinitives  เป็นคำกริยาที่อยู่ในรูปกริยาช่องที่ 1 นำหน้าด้วย to ทำหน้าที่ noun , adjective  และ adverb
 He lacked the strength to resist.
     ( to resist ทำหน้าที่ adjective)
  We must study to learn.
     ( to learn ทำหน้าที่ adverb)

b. Gerunds    เป็นคำกริยาเติม ing  ทำหน้าที่เป็นคำนาม ( noun ) เช่น
They do not appreciate my singing.
   พวกเขาไม่ชอบการร้องเพลงของฉัน  ( singing  เป็นคำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรม )
I like swimming.
  ฉันชอบว่ายน้ำ.  ( swimming  เป็นกรรมของ like )
c. Participles  คำกริยาที่เติม ing  หรือ กริยาช่องที่ 3   ที่ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective )  มี 2 รูปแบบคือ
Present Participles   เป็นคำกริยาที่เติม ing  เช่น
  The crying baby had a wet diaper.
     เด็กที่ร้องอยู่นั้นผ้าอ้อมเปียก  ( crying เป็นคำคุณศัพท์ขยาย baby )

Past Participles  เป็นคำกริยาช่องที่3  เช่น
  The broken bottle is on the floor.
4. แบ่งตามโครงสร้างโดยยึดการเปลี่ยนรูปของคำ  ( conjugation ) ได้แก่
  • Regular Verbs ( คำกริยาปกติ )  เป็นคำกริยาที่เติม ed เมื่อเป็น past และ past participle เช่น
walkwalkedwalked
stopstoppedstopped
workworkedworked
  • Irregular Verbs ( คำกริยาอปกติ ) เป็นคำกริยาที่มีรูป past และ past participle ต่างไปจากรูปเดิมหรือคงรูปเดิม เช่น
sendsentsent
gowentgone
seesawseen


http://kootation.com/uploads/3.bp.blogspot.com*-zFL9dL2u9AA*TbmPSoHq0LI*AAAAAAAAAAk*YiDycHpXB00*s1600*irregular%20verbs%20list%20simple%20past.jpeg


ความหมายของ Verb
Verb (กริยา) คือ คำที่ใช้แสดงอาการหรือการกระทำ หรือ ถูกกระทำของประธานของประโยค รวมถึงการบอกถึงอาการมีอยู่ (Have) หรือเป็นอยู่ (Be) ก็จะใช้กริยาเป็นตัวบอกเช่นกัน และยังถือว่า Verb (กริยา) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในประโยค เพราะถ้าไม่มีกริยาแล้วย่อมสร้างเป็นประโยคไม่ได้ เช่น
คำกริยาที่บอกอาการต่างๆ ของประธานของประโยค
Revadee runs very fast.
เรวดีวิ่งเร็วมาก (กริยา s บอกการกระทำของ Revadee ซึ่งเป็นประธาน)

Supot will come to visit me next week.
สุพจน์จะมาเยี่ยมผมในสัปดาห์หน้า (บอกการกระทำของสุพจน์)

The plane rose to a new height.
เครื่องบินได้บินสูงมาก (บอกอาการของเครื่องบิน)

Somchai climbed a mountain.
สมชายได้ปีนเขาลูกหนึ่ง (บอกการกระทำของสมชาย)

จาก ตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าคำกริยาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของประโยค เพราะถ้าขาดคำกริยาแล้วความหมายของประโยคย่อมไม่สมบูรณ์แน่นอน คำกริยาในภาษาอังกฤษนั้นสามารถบอกเราได้หลายอย่าง
คำกริยาบางกลุ่มจะบอกการกระทำ (Action) ว่าคน สัตว์ หรือสิ่งของนั้นทำอะไร หรือ บอกว่าคน สัตว์ หรือสิ่งของนั้นๆ ถูกกระทำ (is done)
My wife laughs.
ภรรยาของผมหัวเราะ

The clock strikes.
นาฬิกาตีบอกเวลา

Samran runs very fast.
สำราญวิ่งเร็วมาก

Tom was punished.
ทอมถูกทำโทษ

กริยาบางกลุ่มจะบอกอาการเป็นอยู่ หรือคงอยู่ (ได้แก่ กริยา verb to be)
He is a student.
เขาเป็นนักเรียน

Those dogs are dead.
สุนัขเหล่านั้นตายแล้ว

There are twenty students in my class.
มีนักเรียนในห้องเรียนของผม 20 คน

กริยาบางกลุ่มจะแสดงถึงความเป็นเจ้าของ (possession) ได้แก่ กริยา verb to have
My father has a car.
คุณพ่อของผมมีรถยนต์คันหนึ่ง

I have ten books on my desk.
ผมมีหนังสือ 10 เล่มบนโต๊ะทำงาน

She has many houses in Bangkok.
หล่อนมีบ้านหลายหลังที่กรุงเทพฯ


ชนิดของกริยา
กริยาในภาษาอังกฤษสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้

  • Transitive verb – กิริยาที่ต้องการกรรม
  • Intransitive verb – กิริยาไม่ต้องการกรรม
  • Finite verb – กริยาสำคัญของประโยค (กริยาหลัก)
  • Non-Finite verb – กิริยาไม่แท้
  • Auxillary verb  – กิริยาช่วย
กริยา ตามที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้นเป็นการแบ่งแบบกว้างๆ แต่ถ้าจะแบ่งให้เห็นรูปชัดเจน และเข้าใจง่าย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
  • Principal verb หรือ Main verb (กริยาแท้)
  • Auxiliary verb (กริยาช่วย)
การ แบ่งกริยาออกเป็น 2 กลุ่มคือเป็นกริยาแท้ และ กริยาช่วย จะทำให้สามารถอธิบาย และทำความเข้าใจรูปของกริยา (Forms) และหน้าที่ของกริยา (Functions) ได้ง่ายขึ้น รวมถึงการนำไปใช้ก็สามารถนำไปใช้ได้ง่ายขึ้นด้วย


แหล่งอ้างอิง
   http://ict.moph.go.th/English/content/verb01.htm
   http://kootation.com/irregular-verbs-jpg-kootation-com/3.bp.blogspot.com*-zFL9dL2u9AA*TbmPSoHq0LI*AAAAAAAAAAk*YiDycHpXB00*s1600*irregular%20verbs%20list%20simple%20past.jpeg/
 http://www.thaistudyfocus.com/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-verb/#.Ud1kJDswxMA
   http://www.grammar-monster.com/lessons/verbs.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น